รายละเอียดหลักสูตร
องค์ประกอบหลักของหลักสูตรประกอบด้วยการจัดการศึกษาอบรมภายใต้ 4 ชุดการศึกษาเชิงปฏิบัติการ หรือเรียกว่า “ชุดปฏิบัติการพัฒนาเมือง” ประกอบด้วย ชุดปฏิบัติการพัฒนาเมืองที่ 1: บริบทการพัฒนาเมือง ชุดปฏิบัติการพัฒนาเมืองที่ 2: ตัวบทปฏิบัติการ (Actions Theme) การพัฒนาเมือง ชุดปฏิบัติการพัฒนาเมืองที่ 3: ประสบการณ์ปฏิบัติการพัฒนาเมือง และชุดปฏิบัติการพัฒนาเมืองที่ 4: การศึกษาโดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Study) โดยองค์ประกอบของการอบรมในแต่ละชุดปฏิบัติการจะประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก (section) ได้แก่ ส่วนที่หนึ่ง (Section 1) ส่วนวิสัยทัศน์และทักษะของผู้นำยุคใหม่ (Vision and New Leadership Skills) ที่เป็นผู้นำหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรระหว่างภาคประเทศ ฯลฯ ที่มีความเชี่ยวชาญตามประเด็นหรือจุดเน้นของชุดปฏิบัติการพัฒนาเมืองในแต่ละชุดปฏิบัติการ และ ส่วนที่สอง (Section 2) ส่วนแนวคิดและแนวทางการพัฒนาเมืองตามคู่มือปฏิบัติการพัฒนาเมืองทั้ง 4 ชุด โดยมีรายละเอียดในแต่ละขุดการศึกษาเชิงปฏิบัติการ ดังนี้
ตารางที่ 1. ภาพรวมโครงสร้างการจัดการศึกษาอบรมในหลักสูตร
วิสัยทัศน์และทักษะของผู้นำยุคใหม่
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้ผู้เข้าร่วมหลักสูตรเกิดความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการเป็น “ผู้นำ (leader)” และ ภาวะความเป็นผู้นำ (leadership) ภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในยุคปัจจุบัน รวมถึงแนวคิดและทักษะของการเป็นผู้นำสมัยใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองในบริบทต่าง ๆ โดยผู้เข้าร่วมอบรมจะได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวคิด และทักษะของการเป็นผู้นำยุคใหม่จากผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารบริษัทเอกชน ผู้บริหารองค์กรระหว่างประเทศ ที่มีความเชี่ยวชาญโดยตรงเกี่ยวกับจุดเน้นและประเด็นการพัฒนาเมืองตามชุดปฏิบัติการพัฒนาเมืองทั้ง 4 ด้าน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนมุมมองและแนวคิดในการบริหารกิจการพัฒนาพัฒนา (urban development affairs) กับผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ที่เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
โครงสร้างและรายละเอียดการอบรมในส่วนที่ 1 ของหลักสูตร พมส.
- วิสัยทัศน์และทักษะของผู้นำยุคใหม่กับการพัฒนาเมืองในยุคเปลี่ยนผ่าน (ชุดปฏิบัติการพัฒนาเมืองที่ 1)
- วิสัยทัศน์และทักษะของผู้นำยุคใหม่เพื่อพัฒนาเมืองตามตัวบทปฏิบัติการ (Actions Theme) รูปแบบต่าง ๆ (ชุดปฏิบัติการพัฒนาเมืองที่ 2)
- วิสัยทัศน์และทักษะของผู้นำยุคใหม่เพื่อยกระดับนวัตกรรมของพื้นที่และข้อเสนอโครงงานพัฒนาเมือง (ปฏิบัติการพัฒนาเมืองที่ 3)
- วิสัยทัศน์และทักษะของผู้นำยุคใหม่เพื่อขับเคลื่อนโครงงานพัฒนาเมืองในระดับพื้นที่ (ปฏิบัติการพัฒนาเมืองที่ 4)
ผลลัพธ์การเรียนรู้: ผู้เข้าร่วมอบรมเกิดความเข้าใจและได้เรียนรู้ วิสัยทัศน์ แนวคิด และประสบการณ์การทำงานจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้นำที่ขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองในด้านต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศโดยตรง จนทำให้เกิดความตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของภาวะความเป็นผู้นำยุคใหม่ รวมถึงสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากแนวคิด วิสัยทัศน์และประสบการณ์ของวิทยากรไปสร้างสรรค์เป็นแนวทางหรือบูรณาการต่อยอดกับข้อเสนอโครงงานพัฒนาเมืองในพื้นที่ของตนเองได้
ปฏิบัติการพัฒนาเมืองที่ 1: บริบทการพัฒนาเมือง (45 ชั่วโมง)
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้ผู้เข้าร่วมหลักสูตรเกิดความเข้าใจและความตระหนักในการเปลี่ยนแปลงของโลก ทิศทางการพัฒนา อิทธิพลของเทคโนโลยี ภาวะผู้นำในยุคการเปลี่ยนแปลง และให้ผู้เข้าร่วมศึกษาอบรมวิเคราะห์ศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาเมือง วิเคราะห์ภาคีเครือข่ายความร่วมมือ และรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเมือง
โครงสร้างและรายละเอียดการอบรมในชุดปฏิบัติการพัฒนาเมืองที่ 1
ผลลัพธ์การเรียนรู้: มีความรู้ความเข้าใจในระบบเศรษฐกิจใหม่และการเปลี่ยนแปลงของโลก มีความเข้าใจและสามารถวิเคราะห์ศักยภาพและแสวงหาโอกาสในการพัฒนาเมือง วิเคราะห์ภาคีเครือข่ายการประสานความร่วมมือ และมีความเข้าใจและสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเมือง ผู้เข้ารับการศึกษาอบรมสามารถฐานข้อมูลเมืองของตนได้
ปฏิบัติการพัฒนาเมืองที่ 2: ตัวบทปฏิบัติการ (Actions Theme) การพัฒนาเมือง (45 ชั่วโมง)
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้ผู้เข้าร่วมศึกษาอบรมเกิดความเข้าใจและความตระหนักในการเปลี่ยนแปลงของโลกและระบบเศรษฐกิจใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวทางการพัฒนาเมืองตามตัวบทปฏิบัติหลักสำคัญ ได้แก่ การพัฒนาระบบและกลไกในการนำข้อมูลและเทคโนโลยีดิจิทัลมาแปรเปลี่ยนองค์กรและพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของเมือง การพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวและเศรษฐกิจหมุนเวียน การพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานของประวัติศาสตร์แลวัฒนธรรม และการพัฒนารายได้ และเพื่อให้ผู้เข้าร่วมศึกษาอบรมเกิดความรู้และความเข้าใจกลไกทางการเงินทั้งในรูปแบบดั่งเดิมและกลไกการเงินใหม่
โครงสร้างและรายละเอียดการอบรมในชุดปฏิบัติการพัฒนาเมืองที่ 2
ผลลัพธ์การเรียนรู้: มีความรู้ความเข้าใจแนวทางการพัฒนาเมืองตามตัวบทปฏิบัติการหลักสำคัญ ๆ ได้ เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการนำแนวทางการพัฒนาเมืองตามตัวบทปฏิบัติการ การสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลและการแปรเปลี่ยนองค์กรด้วยเทคโนโลยี การพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม การพัฒนารายได้และกลไกทางการเงินใหม่ และผู้เข้ารับการศึกษาอบรมสามารถพัฒนาแผนธุรกิจได้
ปฏิบัติการพัฒนาเมืองที่ 3: ประสบการณ์ปฏิบัติการพัฒนาเมือง (45 ชั่วโมง)
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษาอบรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบกาณณ์ทำงาน โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษาอบรมได้ทราบตัวแบบการพัฒนาเมือง และทราบถึงความท้าทาย ปัจจัยความสำเร็จและปัจจัยสำคัญจากประสบการณ์ในการดำเนินงานพัฒนาเมือง และเพื่อนำไปสู่การออบแบบการพัฒนาเมืองที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
โครงสร้างและรายละเอียดการอบรมในชุดปฏิบัติการพัฒนาเมืองที่ 3
ผลลัพธ์การเรียนรู้ : ทราบถึงตัวเลือก ตัวแบบการพัฒนาเมืองที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนา ทั้งจาก
ตัวแบบประสบการณ์ทั้งในและต่างประเทศ ทราบถึงปัจจัยความสำคัญจากประสบการณ์เหล่านี้เพื่อนำไปสู่การออกแบบการพัฒนาเมืองที่นำไปปฏิบัติได้จริง ผู้เข้ารับการศึกษาสามารถพัฒนาข้อเสนอโครงงานพัฒนาเมืองและนำไปสู่การนำเสนอไอเดีย (Pitching) ขอทุนได้
ปฏิบัติการพัฒนาเมืองที่ 4: การศึกษาโดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Study) (45 ชั่วโมง)
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษาอบรมได้ดำเนินการปฏิบัติจริง โดยการเรียนรู้แบบการทำจริง (Action Learning) และผู้เข้ารับการศึกษาอบรมสามารถดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) พร้อมทั้งได้นำความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมมาใช้ในการดำเนินงานปฏิบัติจริง เพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษาอบรมทราบและเข้าใจสามารถพัฒนาให้เป็นนักวิจัยปฏิบัติการได้
โครงสร้างและรายละเอียดการอบรมในชุดปฏิบัติการพัฒนาเมืองที่ 4
ผลลัพธ์การเรียนรู้ : เกิดการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง (Action Learning) เป็นนักวิจัยเชิงปฏิบัติการ
ที่เชื่อมโยงองค์ความรู้และความร่วมมือ ยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม